หญิงป่วยมะเร็งตับสุดท้าย ไม่สูบ-ไม่ดื่ม หมอชี้สาเหตุจาก ‘เนื้อสัตว์’

หมอแชร์เคสหญิงป่วย “มะเร็งตับ” ระยะสุดท้าย ทั้งที่ไม่สูบบุหรี่-ดื่มเหล้า พบตัวร้ายคือ “เนื้อสัตว์” ที่ชอบกิน

เว็บไซต์ข่าว SOHA รายงานกรณีทางการแพทย์จากไต้หวัน เกี่ยวกับผู้หญิงที่ไม่สูบบุหรี่หรือดื่มแอลกอฮอล์ แต่กลับเป็นมะเร็งตับอ่อนระยะสุดท้าย หมอตรวจพบสาเหตุจาก “อาหาร” ที่ทานเป็นประจำ

หญิงวัย 50 ปีรายนี้ ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ ไม่มีโรคเรื้อรัง หรือประวัติครอบครัวที่เป็นโรคร้าย แต่รู้สึกไม่สบายตัวและแน่นท้อง น้ำหนักตัวลดลง 9 กิโลกรัมในช่วงเดือนที่ผ่านมา จึงตัดสินใจไปตรวจร่างกายที่โรงพยาบาล

ผลอัลตราซาวนด์และซีทีสแกนช่องท้องเผยให้เห็นเงาบนตับอ่อนขนาด 4 ซม. และได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น “มะเร็งตับอ่อน” โดยแพทย์อธิบายว่า ดัชนีเนื้องอก CA19-9 มีค่ามากกว่า 200 ซึ่งเทียบเท่ากับระยะกลางและระยะสุดท้าย

คาดว่าผู้หญิงคนนี้เริ่มมีเนื้องอกเมื่อปีที่แล้ว แต่ตอนนั้นผลตรวจร่างกายไม่พบสิ่งผิดปกติ เนื่องจากการตรวจขั้นพื้นฐานเท่านั้น เชื่อว่าหากได้รับการอัลตราซาวนด์ตับอ่อนและตรวจคัดกรองมะเร็งตับอ่อนอย่างแม่นยำในขณะนั้น อาจตรวจพบได้ตั้งแต่ระยะแรก และการรักษาภายหลังจะมีผลดีมาก อัตราการรอดชีวิตสามารถเพิ่มได้ถึง 80%

กรณีของคนไข้หญิงรายนี้ เนื่องจากเนื้องอกมีขนาดใหญ่และอยู่ใกล้หลอดเลือด การผ่าตัดอาจเสี่ยงมาก จึงต้องทำเคมีบำบัดก่อน หวังว่าจะสามารถกำจัดเนื้องอกได้ผลดี

ทำไมไม่สูบ-ไม่ดื่ม ยังป่วยเป็นมะเร็งตับ?

สาเหตุที่ผู้หญิงไม่สูบบุหรี่หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไม่มีโรคเรื้อรังและไม่มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็ง แต่กลับเป็นมะเร็งตับอ่อนนั้น หมอเชื่อว่าเกี่ยวข้องกับการที่เธอไม่ค่อยออกกำลังกายและทานอาหารประเภทเนื้อสัตว์เป็นประจำ เช่น ผลิตภัณฑ์แปรรูปและเนื้อแดง

“เนื้อสัตว์แปรรูป” เช่น แฮม เบคอน และเนื้อกระป๋อง ซึ่งนิยมทานกันมากในคนหนุ่มสาว อาหารเหล่านี้สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งได้

เนื้อสัตว์แปรรูปมักเติมไนไตรต์เพื่อยืดอายุการเก็บรักษา ไนไตรต์จะทำปฏิกิริยากับโปรตีนในกระเพาะอาหารเพื่อสร้างสารไนโตรซามีน ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง เพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งกระเพาะ มะเร็งตับอ่อน มะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งอื่นๆ

นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์แปรรูปยังมีปริมาณโซเดียมสูง การรับประทานอาหารที่มีเกลือสูงอาจทำให้เยื่อบุกระเพาะอาหารเสียหายและเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งได้เช่นกัน

ในขณะเดียวกัน “เนื้อแดง” คือเนื้อสัตว์ที่มีสีแดงก่อนปรุง เช่น หมู เนื้อวัว และเนื้อแกะ ซึ่งมีไขมันอิ่มตัวสูง เมื่อลองเปรียบเทียบกับเนื้อขาว เช่น ไก่ เป็ด ห่าน ปลา กุ้ง และหอยกาบ ซึ่งมีไขมันน้อยกว่า

IARC จัดประเภทเนื้อแดงเป็นสารก่อมะเร็งประเภท 2A การบริโภคเนื้อแดงเพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งตับอ่อน และมะเร็งชนิดอื่นๆ อย่างไรก็ตาม นั่นไม่ได้หมายความว่าควรหลีกเลี่ยงการกินเนื้อแดงทั้งหมด ซึ่งมีแร่ธาตุสำคัญ โดยเฉพาะธาตุเหล็ก สรุปคือ สามารถกินเนื้อแดงได้ แต่ควรควบคุมปริมาณให้พอเหมาะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *